วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 2 การสมัครใช้งาน Appinventer 2


ใบงานที่ 2 การสมัครใช้งาน Appinventer 2 

ใบงานที่ 2 การสมัครใช้งาน Appinventer 2

จุดประสงค์ เพื่อให้
1. สมัครใช้บริการเว็บไซต์ Appinventer 2
2. เข้าใช้งาน เว็บไซต์ Appinventer 2
3. เข้าใช้งาน เว็บไซต์ Appinventer 2

ขั้นตอน
1. ศึกษาหลักการและขั้นตอนการพัฒนาพัฒนาโปรแกรมประยุกต์จากเอกสารประกอบใบงาน ดาวน์โหลดจาก ที่นี่ 




















2. ทดลองปฏิบัติตาม ค้นคว้าเพิ่มเติม เขียนบรรยายสรุปความรู้ลงใน Blogger ตามหัวข้อดังนี้
          2.1 การสมัคร์ใช้งาน เว็บไซต์ Appinventer 2
1.  ทำงานบนเว็บ โดยต้องใช้อีเมล์ของ GMAIL ล๊อกอิน
เข้าทำงานได้ที่ http://ai2.appinventor.mit.edu

          2.2 การเข้าใช้งาน เว็บไซต์ Appinventer 2

1. การสร้างแอพ มีอยู่สองโหมดที่ต้องสลับทำงานคือ โหมด Design สำหรับการออกแบบและโหมด Block สำหรับการต่อชุดคำสั่งให้ทำงานตามต้องการ

          2.3 การติดตั้ง Appinventer2

1. Appinventer2 สามารถใช้งานได้ผ่าน เบาร์เซอร์ต่างๆได้

          2.4 การออกแบบและแก้ไขบล็อกคำสัง

1. การสร้างแอพ มีอยู่สองโหมดที่ต้องสลับทำงานคือ โหมด Design สำหรับการออกแบบและโหมด Block สำหรับการต่อชุดคำสั่งให้ทำงานตามต้องการ

2.วัตถุที่ลากมาวางบนหน้า Design จะเรียกว่าคอมโพแนน (Component) โดยแตละคอมโพแนนจะประกอบด้วย Properties (คุณสมบัติ) และ Event (เหตุการณ์) และจะมีโคโพแนนบางตัวที่ไม่แสดงบนหน้าจอแต่จะทำงานด้านหลัง เช่น เสียง  , การติดต่อกับอุปกรณ์มือถือ  , วิดีโอ , sensor เป็นต้น

3. Properties (คุณสมบัติ) คือการบอกคุณสมบัติของคอโพแนนแต่ละตัวว่าเป็นยังไร เช่น ปุ่ม จะมีลักษระสีแดง ข้อความเขียนว่า ตกลง สีตัวอักษรสีขนาว ขนาดตัวอักษร 18 px เป็นตัวสามารถตั้งค่าในโหมด Design  และโหมด  Block

4. Event  (เหตุการณ์) คือการสั่งให้คอมโพแนนทำงานตามที่เรากำหนดในชุดคำสั่ง เช่น เมื่อกดปุ่ม แล้วให้เปลี่ยนสีพื้นหลังของแอพ ซึ่งจะทำงานในส่วนของโหมด block

5.การเซพงานที่เรากำลังทำอยู่จะเซฟอัตโนมัติ แล้วสามารถเปิดได้ทุกที่ทีมีเน็ตผ่านเว็บเบราเซอร์ โดยใช้อีเมล์ gmail ของเรา  Log in

          2.5 การแพ็คแบ่งปันโปรแกรมประยุกต์

1.  การทดสอบแอพที่เราสร้าง สามารถทำได้ สาม วิธี
  •  ทดสอบผ่าน emulator หรือตัวจำลอง ที่ระบบให้มาเรียบร้อยต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม
  • ทดสอบผ่านมือถือแอนดรอย์​ โดยที่เราต้องโหลดแอพ  mit ai2 Componion  มาสแกนและต้องใช้ wifi ชุดเดียวกันกับเครื่องที่เราพัฒนา 
  • save เป็นไฟล์​ APK แล้วมาทดสอบกับตัวจำลองอื่นๆ เช่น bulestack , genymotion
2. แอพที่เราสร้างสามารถที่นำขึ้น  Play store ได้ โดยต้องใช้คู่กับ keystore และต้องมี Google Account Devlopper  ค่าสมัครสมาชิกตลอดอายุการใช้ 25$ หรือ 850 บาท

แหล่งอ้างอิง http://ai2startup.blogspot.com/ 



 

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนาพัฒนาซอฟต์แวร์

ใบงานที่ 1 หลักการและขั้นตอนการพัฒนาพัฒนาซอฟต์แวร์ 

จุดประสงค์ เพื่อให้
   1. อธิบายหลักการและขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้
   2. บอกขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้
   3. อธิบายรายละเอียดพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ แต่ละขั้นตอนได้ได้

ขั้นตอนใบงาน
1. ศึกษาหลักการและขั้นตอนการพัฒนาพัฒนาโปรแกรมประยุกต์จากเอกสารประกอบใบงาน ดาวน์โหลดจาก ที่นี่

 2. ค้นคว้าเพิ่มเติม เขียนบรรยายสรุปความรู้ลงใน Blogger ตามหัวข้อดังนี้

    2.1 หลักการพัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน




การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น

   AR Soft เราเป็นผู้นำในการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ตลอดจนโซลูชันและบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้า ภายใต้การบริหารโครงการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพตรงเป้าหมาย

โมบายแอพพลิเคชั่น

    ด้วยความพร้อมของทีมงานที่มีศักยภาพ มีความชำนาญเฉพาะทาง เข้าใจทั้งด้านธุรกิจและเทคนิค สามารถออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์บนระบบปฏิบัติการที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น Windows, UNIX, LINUX โดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น MS-SQL, Oracle อีกทั้งพัฒนาซอฟต์แวร์บนแพลตฟอร์ม Java และ .NET ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันได้ขยายครอบคลุมไปในกลุ่มเทคโนโลยี Mobile ด้วยการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น เช่น iPad, iPhone, Android เป็นต้น
  • AR Soft ได้รับการรับรองมาตรฐาน CMMI ระดับ 3 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ผลงานจึงเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจของลูกค้า
    • Custom Application Development
    • Mobile Application Development

โมบายแอพพลิเคชั่น แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

     Native App คือ แอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนามาด้วย Library (ชุดคำสั่ง) หรือ SDK (เครื่องมือที่เอาไว้สำหรับพัฒนาโปรแกรมหรือแอพพิเคชั่น) ของ OS Mobile นั้น ๆ โดยเฉพาะ อาทิ Android ใช้ Android SDK, iOS ใช้ Objective c, Windows Phone ใช้ C# เป็นต้น
Hybrid Application คือ แอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการให้สามารถรันบนระบบปฎิบัติการได้ทุก OS โดยใช้ FrameWork (ชุดคำสั่ง) เข้าช่วย เพื่อให้สามารถทำงานได้ทุกระบบปฏิบัติการ
Web Application คือ แอพพลิเคชั่นที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อเป็น Browser สำหรับการใช้งานเว็บเพจต่าง ๆ ซึ่งถูกปรับแต่งให้แสดงผลแต่ส่วนที่จำเป็น เพื่อเป็นการลดทรัพยากรในการประมวลผลของตัวเครื่องสมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต ทำให้โหลดหน้าเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตในความเร็วตํ่าได้

แหล่งอ้างอิง http://www.ar.co.th/mobile_application_development_arsoft/th

   2.2 ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน


มี 3 ขั้นตอนดังนี้
  • ขั้นตอนก่อนการจัดทำ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • ขั้นตอนการจัดทำ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน
  • ขั้นตอนหลังการจัดทำ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน

   2.3 ขั้นตอนก่อนการจัดทำ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน

1.ระบุปัญหาของผู้ที่จะใช้ซอฟต์แวร์
   แน่นอนว่าจะทำซอฟต์แวร์ขึ้นมาสักอย่าง เราต้องรู้ว่าจะทำมาเพื่อแก้ปัญหาอะไร ให้ใคร เราต้องรู้ว่าปัญหาที่ผู้ใช้งานเจออยู่ ณ ขณะนี้มีอะไรบ้าง จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องการการแก้ไขจากมากไปน้อย
ขอยกตัวอย่างโดยใช้ธุรกิจโรงแรมประกอบแล้วกัน ปัญหาของผู้ที่ทำงานโรงแรมคือการจัดเก็บข้อมูลและจัดการสิ่งต่างๆในโรงแรมเป็นไปได้ยาก เวลาแขกจองมาก็ต้องบันทึกเก็บเอาไว้ให้ดีห้ามหายเป็นอันขาด นี่ก็เป็นปัญหาหนึ่งอย่างละ สองเวลาแขกมาเช็คอินก็ต้องมาเทียบกับบันทึกที่เก็บไว้ว่าตรงกันหรือไม่ ซึ่งถ้าจำนวนแขกมีเยอะ ก็ต้องมานั่งหาทำให้เสียเวลาและอาจเกิดความผิดพลาดได้ สองอย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างปัญหาที่ต้องระบุก่อนทำโปรแกรมซักตัวขึ้นมา

   2.4 ขั้นตอนการจัดทำ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน

1.ออกแบบ
   เมื่อรู้แล้วว่าปัญหาของผู้ใช้คืออะไร จากนั้นก็เป็นขั้นตอนของการออกแบบว่าจะทำอย่างไรให้โปรแกรมที่จะทำสามารถแก้ปัญหาของผู้ใช้ได้ ซึ่งสิ่งที่จะต้องออกแบบก็มีมากมาย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยกันเป็นทีม ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ด้านธุรกิจ ด้านการจัดการIT และผู้ออกแบบหน้าตาโปรแกรม(UX/UI)
แล้วสิ่งที่ต้องออกแบบมีอะไรบ้างคร่าวๆ?
  • โครงสร้างพื้นฐานของโปรแกรม(Infrastructure)
  • ออกแบบโครงสร้างของฐานข้อมูล
  • ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น เช็คอิน/เช็คเอาท์ การทำจอง แม่บ้าน หรือ การออกรายงาน
  • ออกแบบขั้นตอนโดยอิงกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องเจอในการแก้ปัญเป็นหลัก
  • ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น .net php html c java android โอยเยอะ
  • หน้าตาโปรแกรม(User Interface)
   นี่ก็เป็นแค่สิ่งที่ต้องออกแบบเบื้องต้น ส่วนเบื้องลึกขอติดเอาไว้ก่อนแล้วกัน
เมื่อออกแบบเสร็จแล้ว เราก็ต้องทำSDPหรือService Design Packageเพื่อส่งต่อให้ทีมพัฒนา(Developer)ทำต่อไป ซึ่งขั้นตอนการออกแบบเนี่ยแหละสำคัญที่สุดในการชี้วัดว่าโปรแกรมตัวนั้นจะดีหรือไม่ดี สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้หรือไม่

2.ลงมือทำ
   หลังจากได้SDPจากทีมออกแบบมาแล้ว ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนการลงมือทำซักที ขั้นตอนนี้เราเรียกว่าService Transition คือการเปลี่ยนดีไซน์ให้ออกมาเป็นรูปธรรม ให้เป็นตัวโปรแกรมที่สามารถใช้ได้จริง ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษที่เราเรียกกันว่าโปรแกรมเมอร์ ซึ่งอาจจะมีชื่อเรียกอื่นได้เช่นกัน เช่น DeveloperหรือCoder
สิ่งที่จะกำหนดว่าซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งดีหรือไม่ดีนั้น นอกจากการออกแบบที่ดีแล้ว คนที่ลงมือสร้างหรือที่เราเรียกว่าเขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมา ต้องมีทักษะ มีความรู้ และความเข้าใจอย่างมากด้วย ยกตัวอย่างเช่นซอฟต์แวร์สองตัวที่เขียนโดยคนสองคน อาจจะทำงานได้เหมือนกัน แต่ถ้าเราดูไปถึงข้างในแล้ว รูปแบบการเขียนอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งเขียนมาได้มีประสิทธิภาพมากกว่า สามารถรองรับการพัฒนาต่อยอดได้ง่าย แต่กับอีกตัวเขียนแค่ให้พอใช้ได้ให้บรรลุเป้าหมายในการออกแบบ แต่เอามาพัฒนาต่อได้ยาก หรือใช้งานไปนานๆข้อมูลเริ่มยุ่งเหยิงเนื่องจากการเขียนโค้ดที่ไม่สะอาด ไม่ปราณีต

   2.5 ขั้นตอนหลังการจัดทำ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน

1.บำรุงรักษา
   เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ซอฟต์แวร์ก็ได้ออกมาเป็นตัวเป็นตนสามารถใช้งานได้แล้ว แต่มันไม่จบแค่นี้นะสิ เราต้องดูแลให้มันใช้งานได้อย่างดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแก้ข้อผิดพลาดของโปรแกรม(Bug) *ซึ่งผมกล้าบอกตรงนี้เลยว่า ไม่มีซอฟต์แวร์ตัวไหนที่ไม่มีBug อยู่ที่จะมีมากหรือน้อย รุนแรงน้อยหรือรุนแรงมาก ดูแลระบบไม่ให้ล้มเหลว คอยทำให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะได้รับมูลค่าเต็มๆจากการใช้ซอฟต์แวร์นั้น อีกทั้งยังต้องคอยช่วยเหลือและบริการผู้ใช้อีกด้วย
นี่ก็เป็นขั้นตอนคร่าวๆในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์หลังจากการพัฒนาหลัก
 
2.ปรับปรุงและพัฒนา
   ทุกอย่างมันต้องมีการพัฒนา มันต้องดีขึ้น จริงไหม เช่นกัน ความต้องการของผู้ใช้ก็ไม่มีวันสิ้นสุดเหมือนกัน ปัญหาใหม่ๆของลูกค้ามีเสมอแหละ ซึ่งนั่นก็เป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะต้องคอยปรังปรุงโปรแกรมของตัวเองให้สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆของผู้ใช้ได้ ซึ่งสิ่งที่จะสร้างปัญหาใหม่ให้ผู้ใช้ก็มีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเอย หรือพฤติกรรมของคนส่วนมากที่เปลี่ยนไป
ยกตัวอย่างเช่นการเข้ามาของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต นักท่องเที่ยวก็หันมาจองโรงแรมออนไลน์กันมากขึ้น โรงแรมก็ต้องมีช่องทางเปิดไว้ให้ลูกค้าของตัวเองจองผ่านช่องทางออนไลน์ Smart Finderผู้ที่ทำซอฟต์แวร์สำหรับโรงแรมก็ต้องมองเห็นปัญหาเหล่านี้ของผู้ใช้ ก็ต้องทำระบบจองออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าเอาไว้ใช้เป็นช่องทางให้แขกตัวเองจอง อะไรประมาณนี้
ทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนคร่าวๆว่ากว่าจะมาเป็นซอฟต์แวร์ที่เราใช้อยู่ขณะนี้ มันต้องผ่านอะไรมาบ้าง ต้องมีวิธีขั้นตอนการทำอย่างไรถึงจะออกมาเป็นโปรแกรมหนึ่งตัวให้ผู้ใช้ได้ใช้แก้ปัญหาได้ดีกว่าเดิม

แหล่งอ้างอิง https://smartfinder.asia/th/software-making-process/